24 มีนาคม 2565

สายพานลำเลียง และ รถ AGV

สายพานลำเลียงและรถAGV
ระบบสายพานลำเลียง Belt Conveyor System
ะบบสายพานลำเลียง Belt Conveyor System เป็นระบบสายพานลำเลียงที่เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นงาน ทุกชนิด

ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor) คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต
ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) มี ประเภท

         1  ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)

ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุขึ้นในแนวลาดเอียง ในไลน์การผลิตที่มีการลำเลียงต่างระดับ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ และยังไม่เป็นสนิท ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง องศาลาดเอียงของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะเริ่มตั้งแต่ 10องศา และไม่เกิน 45องศา เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง อาหาร บรรจุภัณฑ์หีบห่อ หรือ ลำเลียงสิ่งของที่ต้องผ่านเครื่อง X-Ray ... ข้อมูลเพิ่มเติม >> ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)
        2. ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)
3. ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)

ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ สามารถทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง อาหาร เป็นต้น ...

ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทนความร้อนได้และราคาถูก ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด
ข้อมูลเพิ่มเติม >> ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)

4. ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System



รถ AGV ในงานอุตสาหกรรม


รถ  AGV  คือ รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้
รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาที

รถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGV
ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ Maintenace Free สามารถใช้งานได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่องนานถึง 8-10 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ

ประโยนช์ของรถ AGV
รถ AGV power stacker 1 คัน สามารถขับเคลื่อนโดยไม่ต้องใช้พนักงานขับ จะสามารถประหยัด 
ค่าแรงคนงาน ได้ดังนี้ (ประมาณการที่ค่าแรงขั้นต่ำ300บาท และค่าสวัสดิการอื่นๆ)
ถ้าใช้งานAGV 1 กะ:วัน (8ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน 1 คน = 10,000 ฿:เดือน หรือ = 120,000฿:ปี 
ถ้าใช้งานAGV 2 กะ:วัน (16ชม.)ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน 2 คน = 20,000 ฿:เดือน หรือ = 240,000฿:ปี 
ถ้าใช้งานAGV 3 กะ:วัน (24ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน 3 คน = 30,000 ฿:เดือน หรือ = 360,000฿:ปี  

ในการลงทุนปรับปรุงรถยกให้เป็นรถ AGV ประมาณเบื้องต้นว่า มีค่าใช้จ่ายราว 300,000 ฿ ต่อคัน จะสามารถคืนทุนในเวลา 
2ปี 6 เดือน ถ้าใช้งาน 1 กะ:วัน
1ปี 3 เดือน ถ้าใช้งาน 2 กะ:วัน 
เพียง 10 เดือน ถ้าใช้งาน 3 กะ:วัน 
ซึ่งถ้าลงทุนใช้รถ AGV หลายคันทางบริษัทก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อีกเป็นอัตราเพิ่มขึ้น
ใน กรณีศึกษา ที่มีการใช้คนงาน 6 คน และ รถ Power stacker 3 คัน  หากมีการใช้ AGV power stacker แทน และใช้งานถึง 3 กะ ปริมาณงานที่ได้จาก รถAGV
 ก็จะเท่ากับ ปริมาณงานของคนงานถึง 9 คน นั่นคือผลกำไรที่ได้คืนมา ประมาณ 90,000 บาทต่อเดือน หรือ 1,080,000 บาทต่อปี  

เพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการทำงาน 

รถAGV เริ่มงานได้ตรงเวลา ตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็นโดยไม่ต้องหยุดพัก เข้าห้องน้ำ ทานกาแฟ สูบบุหรี่ หรือ คุยโทรศัพท์ 
รถAGV ไม่ลาหยุด หรือ ลากิจ ไม่ขาดงานบ่อย งานจะเดินได้สม่ำเสมอ 

กรณี รถเสียทางบริษัทมีบริการ Service online เป็นบริการที่รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายน้อย หรือถ้าต้อง มีการ service onsite เราก็สามารถบริการได้รวดเร็ว
เพราะเป็นช่างในเมืองไทย ไม่ต้องรอจากต่างประเทศ 
ความคุ้มทุนจึงเกิดจากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นด้วย
ลดต้นทุนแฝงด้านความเสียหายที่เกิดจากคนขับ
ความ ผิดพลาดจากมนุษย์เป็นเรื่องปรกติ การขับเฉี่ยว ชน เกิดขึ้นจากความประมาท เลินเล่อ ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นกับรถAGV เป็นการลดความเสียหายของสินค้า
และตัวรถยกเองก็มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น 
การ ลงทุนด้าน Automation จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มในระยะยาว ช่วยลดต้นทุนความเสียหาย โดยการควบคุมด้วยโปรแกรมอัตโนมัติ และ อุปกรณ์ป้องกันการเฉี่ยว ชน
ความคุ้มทุนจะมาอยู่ที่ประสิทธิภาพการทำงานที่ ปราศจากอุบัติเหตุ ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมแซม
เพิ่มภาพลักษณ์ที่ทันสมัยให้แก่บริษัท
เป็น ผลดี ด้านจิตวิทยา ทำให้บริษัทก้าวทันยุค เทียบเท่ากับบริษัทระดับโลก ซึ่งใช้ระบบAutomation  มานานนับทศวรรษแล้ว ในการติดต่อกับลูกค้า โดยเฉพาะบริษัททีมีการติดต่อกับต่างประเทศ
เจ้าของกิจการจะรู้สึกได้เองว่า คุ้ม ที่ได้ปรับปรุงกิจการให้ทันสมัยขึ้น











18 มีนาคม 2565

สมาชิกในชั้นเรียนไฟฟ้าA

 รายชื่อสมาชิกในชั้นเรียน

ลำดับที่                  รายชื่อ                                                               ชื่อเล่น

   000                       อาจารย์ธนภัทร ชัยชูโชค                                 อาจารย์ปาล์ม

   001                       นายสุรพิชญ์ ศรีสุวรรณ                                     ชาย

   002                       นายสัณหวัช เพ็ชรสวัสดิ์                                   โจ

   003                       (ลาออก)                                                           -

   004                       นายอาดีนัน โสธามาต                                      ดีนจอ

   005                       นายนัฐกิตย์ อ่อนยัง                                          ปิน

   006                       นายปฏิพัทธ์ หนูน้อย                                        อิ้งค์

   007                       นายบัสซัมร์ เตะมัน                                           บัสซัม

   008                       นายศุภกฤต อุทัยพันธ์                                      อาร์ม

   009                       นายณัฐพงศ์ ทองพิมพ์                                     แบงค์

   010                       นายณัฐวัฒน์ บุญรัตน์                                       ยอด

   011                       (ลาออก) -

   012                       นายณัฐวัฒน์ ดำโอ เฟรม

   013                       นายศิวานนท์ ชมภูแก้ว ก้าน

   014                       นายเจตุพล เถี่ยวสังข์ เชน

   015                       นายสุภัทร เเก้วมี ก้อง

   016                       นายภานุ สุขสวัสดิ์ บิ๊ก

   017                       นายปิยวัฒน์ เอียดมาอ่อน วิม

   018                       นายรอมฎอน เบ็ญโกบ เดือน

   019                       นายเจตนิพัทธ์ บัวทอง เบียร์

   020                       นายทัชมา นิยมเดชา ยุท

   021                       นายกฤษณะ ทองประศรี ออมสิน

   022                       นายกิตติศักดิ์ ละแม ริฟ

   023                       นายกูซาฟีอี สุหลง อี

   024                       นายขจรศักดิ์ หวังเกตุ เขตต์

   025                       นายคมกฤษ กสิกรรมไพบูลย์ จง

   026                       นายคมศักดิ์ เอียดแก้ว สิงห์

   027                        นายฆอซาลี โต๊ะหีม ลี

   028                        นายชัยวัฒน์ พันธ์ฤทธิ์ดำ ปอ

   029                        นายชาญชัย ดวงจักร์ บาส

   030                        นายซอฟารีย์ เหร็มเหระ รี

   031                        นายซับรี อาแว บรี

   032                        นายฐิติศักดิ์ พิทักษ์ เชน

   033                        นายณรงค์ฤทธิ์ นวลบุญ พุฒ

   034                        นายณรงค์ศักดิ์ แกล้วทนงค์ แบ็ท

   035                        นายณัชพล แก้วถาวร แม็ก

   036                        นายณัฐพล ช่วยดี ชิ

   037                        นายทัตเทพ ชนิลธรชัย เลย์

   038                        นายธีรวุฒิ ขุนเจริญ อั๋น

   039                        นายธีระพงศ์ รักษ์จันทร์ เอฟ

   040                        นายนราวิชญ์ ช้างประเสริฐ โดม

   041                        นายนัฐพล ชะนะชัย อั้ม

   042                        นายณัฐพล ราชแก้ว พี

   043                        นายนาวี เทพลักษณ์ วี

   044                        นายปรินทร หวัดเพชร บอล

13 มีนาคม 2565

 หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

1.หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

Cobot’ หุ่นยนต์ผู้ช่วยของมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรม

เมื่อปี ค.ศ.1961 ได้ก่อกำเนิดหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมตัวแรกของโลก ซึ่งถูกคิดค้นโดยนายจอร์จ ดีวอล (George Devol) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เพื่อให้หุ่นยนต์ได้ทำงานที่อันตรายแทนมนุษย์ในโรงงานประกอบรถยนต์ แต่ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้ก้าวกระโดดไปได้ไกลมากขึ้น มนุษย์ได้คิดค้นและสร้างหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นเพื่อนร่วมงานของมนุษย์ นั่นก็คือ ‘Cobot’ หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกันกับมนุษย์ได้อย่างเฉลียวฉลาดและมีประสิทธิภาพ


Cobot คืออะไร

โคบอท หรือ Collaborative Robots คือหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีรูปร่างเป็นแขนกลที่ทำงานหยิบจับจัดเรียงชิ้นส่วนต่างๆและหน้าที่ผลิตชิ้นส่วนต่างๆที่มีขนาดเล็กและต้องการความละเอียด ซึ่ง Cobot จะมีระบบเซ็นเซอร์ที่ล้ำสมัย สามารถตรวจวัดและผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดสูงได้หลายๆชิ้นตามสเกลที่กำหนดไว้โดยปราศจากข้อผิดพลาด โดยโคบอทมีความแตกต่างจากหุ่นยนต์หรือโรบอททั่วไปคือโคบอทมีน้ำหนักเบาและขนาดไม่เทอะทะ สามารถเคลื่อนย้ายไปยังจุดต่างๆในโรงงานได้อย่างสะดวกสบาย โดยโคบอทถูกใช้อย่างมากในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงและอันตรายต่อมนุษย์ เช่น เคมีภัณฑ์ ยา อิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์


2. หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์

Automotive Robotics แขนกลอัจฉริยะสำหรับการผลิตรถยนต์

        ปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อลดปัญหาคุณภาพสินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือผลิตสินค้าไม่ทัน จึงมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย นั้นก็คือ หุ่นยนต์ Automotive Robotics สำหรับการผลิตรถยนต์ที่ต้องทำงานตลอดเวลา และต้องการความแม่นยำ บทความนี้จึงขอนำเนื้อหาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ มาให้คุณได้อ่านกันอย่างเพลิน

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม Articulated Arm

  ทุกแกนการเคลื่อนที่จะเป็นแบบหมุน (Revolute) รูปแบบการเคลื่อนที่จะคล้ายกับแขนคน ซึ่งจะประกอบด้วยช่วงเอว ท่อนแขนบน ท่อนแขนล่าง ข้อมือ การเคลื่อนที่ทำให้ได้พื้นที่การทำงาน

ตัวอย่างการใช้งานในการผลิตรถยนต์

   กระบวนการผลิตรถยนต์มีชิ้นส่วนนับหมื่นชิ้นที่ใช้ในการผลิต มีทั้งที่ใช้แรงงานคนและหุ่นยนต์ทำงานแทนในพื้นที่อันตรายหรือต้องการความสม่ำเสมอของคุณภาพสินค้า จากนี้จะเป็นตัวอย่างการใช้หุ่นยนต์ที่ทำงาน

งานเชื่อม

        ส่วนนี้จะใช้หุ่นยนต์ขนาดใหญ่ที่มีสามารถรับน้ำหนักได้เยอะ ใช้เชื่อมชิ้นส่วนโครงสร้างตัวถังรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ได้ ส่วนหุ่นยนต์ขนาดเล็กจะใช้เชื่อมชิ้นส่วนขนาดเล็ก เช่น ตัวยึด

งานประกอบชิ้นส่วน

        หุ่นยนต์ที่ใช้ในส่วนนี้จะทำหน้าที่ เช่น การติดตั้งกระจกหน้ารถ การติดตั้งล้อ งานเหล่านี้สามารถใช้หุ่นยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทาสี การเคลือบสี

        งานพ่นสีหรืองานเคลือบสีต้องมีความสม่ำเสมอในการพ่น เพื่อให้ชิ้นส่วนออกมาสมบรูณ์ และยังต้องคำนึงถึงปริมาณสารที่ใช้ไม่ให้เกิดการสิ้นเปลืองจนเกินไป งานเหล่านี้จึงให้หุ่นยนต์เข้ามาทำแทน เนื่องจากสามารถกำหนดปริมาณสารได้และทำงานได้อย่างสม่ำเสมอตามที่กำหนดไว้


3. หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด
สอบหุ่นยนต์เพื่อทดสอบสมรรถนะของหุ่นยนต์ ที่สร้างขึ้นตามมาตรฐาน American Society for Testing and Materials หรือ ASTM International ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำหนดและจัดทำมาตรฐาน ซึ่งได้รับการยอมรับทั่วโลก โดยสนามทดสอบยานภาคพื้นไร้คนขับ จำลองลักษณะพื้นที่การปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ที่จำกัดและมีสภาพพื้นผิวที่จำลองให้ใกล้เคียงกับพื้นคอนกรีตที่มีฝุ่นปกคลุม โดยสามารถทำการทดสอบเพื่อประเมินสมรรถนะการเคลื่อนที่ (Mobility Performance)
ได้แก่ 1) การเคลื่อนที่ผ่านภูมิประเทศ 2) การเคลื่อนที่ข้ามสิ่งกีดขวาง และ 3) การทดสอบเพื่อประเมินผู้ควบคุมกับยานภาคพื้นไร้คนขับ โดยสนามทดสอบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ทดสอบยานภาคพื้นไร้คนขับ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้นโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องมาตรฐานการทดสอบ เพื่อเป็นการยืนยันและรับประกันถึงคุณภาพและสมรรถนะของผลงานวิจัยด้านหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดของ สทป. สร้างความมั่นใจและความไว้วางใจให้กับหน่วยผู้ใช้ ในการนำหุ่นยนต์ไปปฏิบัติภารกิจอย่างเป็นรูปธรรมได้ทุกภารกิจ


4. หุ่นยนต์อัจฉริยะ
หลายคนอาจจะเคยได้ยินในชื่อ “Robovac” ที่ย่อมาจากชื่อเต็มๆว่า Robotic Vacuum Cleaner ซึ่งมันจัดอยู่ในประเภทหุ่นยนต์อัจฉริยะ ที่ถูกวางโปรแกรมให้มีคุณสมบัติเหมือนเครื่องดูดฝุ่นหรืออาจจะล้ำสมัยกว่าเครื่องดูดฝุ่นด้วยซ้ำไป (ขึ้นอยู่กับแบรนด์และความสามารถที่แตกต่างของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น)โดยหุ่นยนต์ดูดฝุ่นส่วนใหญ่ที่เห็นได้ตามท้องตลาด ก็จะมีทั้งแบบสั่งการผ่านรีโมท และแบบ Self-drive ที่หุ่นยนต์สามารถดูแลความสะอาดได้เอง โดยที่เราไม่ต้องควบคุมหรือคอยสั่งการ นอกจากนี้ ในเรื่องของดีไซน์และฟีเจอร์ต่างๆ ก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น บางตัวก็เป็นทรงกลม แต่บางตัวก็เป็นทรงเหลี่ยม หรือบางตัวอาจจะมีฟีเจอร์พิเศษ (เช่น กวาดพื้น) ในขณะที่บางตัวไม่มี

หุ่นยนต์ดูดฝุ่นช่วยอะไรเราได้บ้าง ?
หุ่นยนต์รุ่นก่อนๆ หน้าที่หลักของมันอาจจะเป็นแค่การลดภาระในการดูดฝุ่นตามพื้นเท่านั้น  แต่สำหรับปัจจุบัน เทคโนโลยีนั้นสามารถพัฒนาให้เจ้าหุ่นยนต์ดูดฝุ่นนั้นฉลาดขึ้นและตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตของเรามากที่สุด ซึ่งก็มีทั้งฟีเจอร์ที่หลากหลาย และการพัฒนาระบบความสามารถ เพื่อเพิ่มขีดจำกัดให้กับมันทำให้มันไม่ใช่แค่หุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่ดูดฝุ่นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยถ้าเปรียบเทียบแล้วมันแทบจะเป็นเหมือนแม่บ้านคนนึงที่เราสามารถไว้วางใจเลยก็ว่าได้




















04 มีนาคม 2565

ใบงานเรื่อง เครื่องจักร NC CNC DNC

 

  เครื่องจักร NC

          NC  ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ CNC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน  อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC  ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว






 เครื่องจักร CNC

             CNC เป็นคำย่อมาจากคำว่า Computer Numerical Control หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุมการทำงานเครื่องจักรกลอัตโนมัติต่างๆ เช่น เครื่องกัด เครื่องกลึง เครื่องเจาะ เครื่องเจียระไน ฯลฯ โดยการสร้างรหัส ตัวเลข สัญลักษณ์ หรือเรียกว่าโปรแกรม NC ขึ้นมาควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกล   ซึ่งสามารถทำให้ผลิตชิ้นงานได้รวดเร็วถูกต้อง และเที่ยงตรง นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 เป็นต้นมา เทคโนโลยีทางด้านไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามามีบทบาทแทนที่หลอดสุญญากาศ และทรานซิสเตอร์ก็มีการพัฒนาจากเครื่องจักร NC มาเป็นเครื่องจักร CNC (Computer Numerically Controlled) และเครื่องจักร CNC ก็กลายเป็นพระเอกที่โดดเด่นเรื่อยมา เนื่องจากมีหน่วยความจำขนาดใหญ่สามารถบรรจุโปรแกรมการทำงานต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีจอภาพแสดงผลแบบกราฟิกแสดงผลหรือจำลองการทำงานได้อีกด้วย ในการโปรแกรมข้อมูลเข้าไปยังตัวควบคุมเครื่องจักร (Machine Control) ซึ่งเรียกการควบคุมแบบนี้ว่าระบบ softwired โดยมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ แบบเก่าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บโปรแกรมได้



 

 เครื่องจักร DNC

          DNC เป็นคำย่อมาจากคำว่า Distribution Numerical Control คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน


















27 มกราคม 2565

เทคโนโลยีการสื่อสาร


    เทคโนโลยีการ สื่อสาร  ได้แก่  อินเทอร์เน็ต  โดยเฉพาะบริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)  หรือ  (web)  จึงกล่าวได้ว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง  "วิทยาการต่างๆ  ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง"   กล่าวคือ  เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  กับการจัดการสารสนเทศ  ที่อาศัยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์  และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเป็นหลัก  ตั้งแต่การรวบรวม  การจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผล  การพิมพ์  การสร้างรายงาน  การสื่อสารข้อมูล  ฯลฯ  เพื่อให้ได้สารสนเทศไว้ใช้งานได้อย่างทันเหตุการณ์ก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในด้านการผลิต  การบริการ  การบริหารและ การดำเนินงานต่าง ๆ   รวมทั้งเพื่อการศึกษา และการเรียนรู้   ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ  การค้า  และการพัฒนาคุณภาพชีวิต  และคุณภาพของประชาชนในสังคมปัจจุบันเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในทุกวงการ  เช่น  นำมาใช้ในวงการแพทย์  เรียกว่า  เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) นำมาใช้ทาง การเกษตร เรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology)  นำมาใช้ทางการอุตสาหกรรม เรียกว่า เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (Industrial Technology)นำมาใช้ทางการสื่อสาร เรียกว่า เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) และนำมาใช้ในวงการอื่น ๆ อีกมากมาย รวมทั้งนำมาใช้ในวงการศึกษา ที่เรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)

ข้อดี 

1.ทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมมีความสะดวกทำให้มนุษย์ติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้น

2.ทำให้การเข้าถึงข้อมูลมีความรวดเร็วขึ้น

3.ทำให้ระบบการผลิตในงานอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อเสีย

1.ทำไห้เกิดอาชญากรรม

2.ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอยลง ทำให้เกิดสังคมก้มหน้า

3.ทำไห้มีคนตกงานมากขึ้น เนื่องด้วยการผลิตปัจจุบันใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการผลิต

24 มกราคม 2565

ประวัติส่วนตัว

 ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นาย ณัฐพล ราชแก้ว

ชื่อเล่น พี

เบอร์โทร 083-2741742

ที่อยู่ 77/9 หมู่ 4 ต.เปียน อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา

อาหารที่ชอบ ก๋วยเตี๋ยวเรือ

สีที่ชอบ สีดำ

ดาราที่ชอบ แจ๊ส ชวนชื่น

เพลงที่ชอบ คนกลางคืน (ลาบานูน)

กีฬาที่ชอบ ฟุตบอล

คติประจำใจ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว




สายพานลำเลียง และ รถ AGV

สายพานลำเลียงและรถAGV ระบบสายพานลำเลียง  Belt Conveyor System ร ะบบสายพานลำเลียง  Belt Conveyor System  เป็นระบบสายพานลำเลียงที่เหมาะสำหรับโ...